ยาโรสลาฟ เฮย์รอฟสกี
ยาโรสลาฟ เฮย์รอฟสกี

ยาโรสลาฟ เฮย์รอฟสกี

ยาโรสลาฟ เฮย์รอฟสกี (เช็ก: Jaroslav Heyrovský; เสียงอ่านภาษาเช็ก: [ˈjaroslaf ˈɦɛjrofskiː] ( ฟังเสียง); 20 ธันวาคม ค.ศ. 189027 มีนาคม ค.ศ. 1967) เป็นนักเคมีและนักประดิษฐ์ชาวเช็ก เกิดที่กรุงปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก) เป็นบุตรของเลโอโปลด์และคลารา (นามสกุลเดิม ฮาเนิล ฟอน เคิร์ชทอย)[2] เฮย์รอฟสกี เฮย์รอฟสกีเรียนวิชาเคมี, ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชาลส์ ระหว่าง ค.ศ. 1910–1914 เฮย์รอฟสกีเดินทางไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เฮย์รอฟสกีทำงานเป็นนักเคมีและนักรังสีวิทยาในโรงพยาบาลทหาร หลังสงคราม เฮย์รอฟสกีทำงานเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์บี. เบราเนอร์ที่สถาบันเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยชาลส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1926 เฮย์รอฟสกีดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีฟิสิกส์คนแรกของมหาวิทยาลัยชาลส์[3]ในปี ค.ศ. 1922 เฮย์รอฟสกีค้นพบกระบวนการโพลาโรกราฟี ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีวัดศักย์ไฟฟ้าทางไฟฟ้าเคมี[4] การค้นพบและการพัฒนากระบวนการนี้ทำให้เฮย์รอฟสกีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1959[5]ด้านชีวิตส่วนตัว เฮย์รอฟสกีแต่งงานกับมารี คอราโนวาในปี ค.ศ. 1926 มีบุตรด้วยกัน 2 คน เฮย์รอฟสกีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1967 ต่อมาชื่อของเขาได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อของแอ่งดวงจันทร์[6]

ยาโรสลาฟ เฮย์รอฟสกี

ศิษย์เก่า
สถาบันที่ทำงาน กองทัพอากาศเชโกสโลวาเกีย
งานที่เป็นที่รู้จัก
เกิด 20 ธันวาคม ค.ศ. 1890(1890-12-20)
ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย
รางวัลที่ได้รับ
เสียชีวิต 27 มีนาคม ค.ศ. 1967 (76 ปี)
ปราก เชโกสโลวาเกีย
สาขา เคมี
สัญชาติ เช็ก